Ads 468x60px

ความคิดเห็นจาก facebook

Featured Posts

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันลอยกระทง




วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า เทศกาลลอยกระทงชักนำให้วัยรุ่นไทยร่วมประเวณีกันมากที่สุด มีความเป็นไปได้ที่เยาวชนไทยร้อยละ 38 จะถูกล่วงละเมิดทางเพศในวันลอยกระทง ทั้งนี้ เพราะเทศกาลลอยกระทงจัดในยามค่ำคืน หนุ่มสาวพบเจอกันได้ง่ายและมักเสพสุรายาเมากัน[1] นอกจากนี้ มหาเถรสมาคมยังเปิดเผยด้วยว่า ในภาคอีสานมักจัดงานวัดซึ่งประกอบด้วยการเสพของมึนเมาและจัดแสดงอนาจารในคืนลอยกระท

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

code facebook

<div id="fb-root"></div>
<script>(function(d, s, id) {
  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
  if (d.getElementById(id)) return;
  js = d.createElement(s); js.id = id;
  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=162817937165725";
  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
<div class="fb-comments" data-href="http://mediath2.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650"></div>

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา


“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน"

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สำนักงาน กศน.จังหวัดสุโขทัย





ประวัติความเป็นมาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ


และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุโขทัย

                   -  พ.ศ. 2520 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุโขทัย แต่เดิมเป็นโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 17 สังกัดกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา ตั้งอยู่อาคารหลังเก่าโรงเรียนสวรรคอนันตวิทยา อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย  รับผิดชอบจัดการศึกษาด้านทักษะวิชาชีพ  สำหรับประชาชน  หลักสูตรระยะสั้น  300  ชั่วโมง  สาขาต่างๆ  เช่น  ช่างเครื่องยนต์  ช่างเชื่อมโลหะ  ช่างวิทยุ  ช่างตัดเสื้อสตรี  ช่างตัดผมชาย  ช่างตัดผมเสริมสวย  พิมพ์ดีด  เป็นต้น
                   -  พ.ศ. 2522  กองการศึกษาผู้ใหญ่เปลี่ยนสถานะเป็น  กรมการศึกษานอกโรงเรียน
                   -  พ.ศ. 2528  วันที่  18  ตุลาคม  2527  กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้ง  “ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุโขทัย”  โดยยุบรวมโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่  17  และโอนทรัพย์สินบุคลากร  รวมเป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุโขทัยสถานที่ตั้งแต่เดิม  เช่าอาคารอยู่ที่บริเวณหลักตลาดสด อ.เมืองสุโขทัย จากนั้นได้ย้ายเข้าไปอยู่รวมกับสภาตำบลบ้านกล้วย อ.เมือง    จ.สุโขทัย
                   - พ.ศ.  2529  ในปี  พ.ศ. 2528  ได้งบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน  สร้างอาคารสำนักงาน  ณ  บริเวณสภาตำบลบ้านกล้วย  หมู่ที่   2  ต. บ้านกล้วย  อ.เมือง จ.สุโขทัย  ถ.จรดวิถีถ่อง (สุโขทัย-เมืองเก่า)  มีพื้นที่  9  ไร่ 3  งาน  71  ตารางวา  เป็นที่ดินเช่าของกรมศาสนา  ซึ่งศูนย์การศึกษานอก
                   - ตั้งแต่  พ.ศ. 2530  ถึงปัจจุบัน  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุโขทัย  ตั้งอยู่ที่เลขที่  245  หมู่ 2  ถนนจรดวิถีถ่อง  ต.บ้านกล้วย  อ.เมือง  จ.สุโขทัย  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน  กระทรวงศึกษาธิการ  มีหน้าที่จัดการศึกษาให้กับประชาชนนอกโรงเรียน ทั้งสายสามัญ สายอาชีพ  การศึกษาตามอัธยาศัย  จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  พัฒนาสังคมและชุมชน
                   วันที่  4  มีนาคม  พ.ศ.  2551  พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  พ.ศ.  2551  มีผลบังคับใช้ทำให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุโขทัย  เปลี่ยนสถานภาพจากสถานศึกษา  เป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุโขทัย




NF 12 กศน.จังหวัดอุทัยธานี


สุดยอด กศน.จังหวัดอุทัยธานี  NF 12



NF 10 กศน.จังหวัดแพร่

สุดยอด กศน.จังหวัดแพร่ NF 10

NF 8 กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์

สุดยอด กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์  NF 8

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เรื่องที่ 2 ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก


เรื่องที่ 2 ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก
ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน
2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ
3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้
4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้
5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น
6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ

ประโยชน์ของบล็อก
ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่
1.เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์
ถือได้ว่าบล็อกเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง
ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น
 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)
3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา
4. เป็นเวทีการเรียนรู้
นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ
ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์


วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวันวิสาขบูชา ในประเทศไทย


ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

          ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ
          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน


ความหมายวันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

ความหมายของ วันวิสาขบูชา

          คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 

การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ


ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...



1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส



2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา


3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น